หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาปัญญาเลิศ อคฺคปญฺโญ (ขำศรีพันธุ์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๒ ครั้ง
แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อครอบครัวตามหลักสังคหวัตถุ ๔ สำหรับนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาปัญญาเลิศ อคฺคปญฺโญ (ขำศรีพันธุ์) ข้อมูลวันที่ : ๐๔/๐๓/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูวิรุฬห์สุตคุณ
  บุญเชิด ชำนิศาสตร์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาด้านความรับผิดชอบต่อครอบครัวของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ       ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างความรับผิดชอบต่อครอบครัวตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างความรับผิดชอบต่อครอบครัวตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ควบคู่กับการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methodology Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณกับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน ๓๑๗ คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้สถิติวิเคราะห์หาค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)

 
              ผลการวิจัย พบว่า 

              ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างความรับผิดชอบต่อครอบครัวตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างความรับผิดชอบต่อครอบครัวตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพรวม และรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมาก

              ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างความรับผิดชอบต่อครอบครัวตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า นักเรียนที่มีเพศ และ สถานภาพของบิดามารดา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างความรับผิดชอบต่อครอบครัวตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวม ไม่แตกต่างกันส่วนนักเรียนที่มีชั้นปีที่ศึกษา ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างความรับผิดชอบต่อครอบครัวตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวม ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

              ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างความรับผิดชอบต่อครอบครัวตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ  พบว่า ๑) ด้านทาน นักเรียนให้ความเคารพต่อกฎระเบียบข้อบังคับของโรงเรียนและสังคมอยู่เสมอเมื่อโรงเรียนมีกิจกรรม นักเรียนจะช่วยทำงานอย่างเต็มที่ รวมถึงให้ความสะดวก แก่เพื่อนทุกคนในโรงเรียน อย่างเต็มความสามารถ และให้คำแนะนำและปรึกษา ในเรื่องที่นักเรียนทราบ ด้วยความยินดี ๒) ด้านปิยวาจา นักเรียนพูดจาทักทายกับเพื่อนด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวานน่าฟัง ให้คำแนะนำเพื่อนด้วยถ้อยคำนุ่มนวลเป็นประโยชน์และเป็นกันเอง และไม่พูดจาในสิ่งที่ผู้อื่นฟังแล้วรู้สึกสะเทือนใจน้อยใจหรือคับแค้นใจ และไม่พูดจาส่อเสียด ว่าร้ายผู้อื่นให้เกิดความโมโห หรือเศร้าโศกเสียใจ ๓) ด้านอัตถจริยา นักศึกษามีความสนใจใฝ่เรียนรู้ เพื่อนําความรู้ที่เกี่ยวข้องไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติและแก้ปัญหาให้สําเร็จ และมีน้ำใจ ไม่นิ่งดูดาย เมื่อมีผู้ต้องการความช่วยเหลือ โดยขวนขวายให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้มาขอความช่วยเหลืออยู่เสมอ ๔) ด้านสมานัตตตา นักเรียนวางตนเป็นกันเอง มีอัธยาศัยไมตรี ไม่ทำให้เกิดความอึดอัด โดยวางตัวกับทุกคนความด้วยความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน และร่วมกันประเมิลผลงานทั้งที่ปฏิบัติด้วยตนเองและปฏิบัติรวมกลุ่ม เพื่อสรุปผลสําเร็จและคุณค่าความภูมิใจในการปฏิบัติตน

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕