หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาไพฑูรย์ สิริธมฺโม / ชัยกุง
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๒ ครั้ง
การวิเคราะห์แนวคิดเรื่องขันธ์ ๕ ในเชิงอภิปรัชญา
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาไพฑูรย์ สิริธมฺโม / ชัยกุง ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๓/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูภาวนาโพธิคุณ
  จักรพรรณ วงศ์พรพวัณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๗ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาปัญหาอภิปรัชญาในพุทธปรัชญาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องขันธ์ ๕ ในพุทธปรัชญาเถรวาท ๓) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดเรื่องขันธ์ ๕
ในเชิงอภิปรัชญา การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

 

 

อภิปรัชญาในพุทธปรัชญานั้นมีลักษณะที่ต่างจากทัศนะแบบตะวันตก ซึ่งไม่ใช่เป็นลักษณะการคาดเก็งความจริง หรืออนุมานถึงความน่าจะเป็นของสรรพสิ่ง หากแต่เป็นการแสดงถึงความจริงของสรรพสิ่งตามที่มันเป็น พุทธปรัชญาสอนหลักความจริงว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นคนสัตว์หรือสิ่งของ เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม เป็นเรื่องทางวัตถุหรือเป็นเรื่องจิตใจ ทั้งหมดล้วนเป็นไปตามหลักธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย เป็นเรื่องของปัจจัยสัมพันธ์ ปัญหาทางอภิปรัชญาในพระพุทธศาสนามาสามารถสรุปได้ ๒ แนวคิดหลัก คือ สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง, ความเห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยงแท้ยั่งยืนคงอยู่ตลอดไป และอุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ, ความเห็นว่าอัตตาและโลกซึ่งจักพินาศขาดสูญหมดสิ้นไป

 

 

ขันธ์ ๕ เป็นการรวมส่วนประกอบของกระบวนการแห่งชีวิต ได้แก่ รูป (กาย) เวทนา (ความรู้สึก) สัญญา (ความจำ) สังขาร (สิ่งปรุงแต่ง) วิญญาณ (ความแจ้ง) หรือเรียกอีกอย่างว่ารูปและนาม (กายกับจิต) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นและมีการทำงานร่วมกันไม่อาจแยกออกจากกันได้ พุทธปรัชญามองชีวิตในลักษณะวิเคราะห์ (Analysis) แยกองค์ประกอบใหญ่เป็นชิ้นส่วนย่อย เราจะเห็นว่าแท้ที่จริงแล้วตัวตนที่แท้จริงก็มาจากการประชุมกันของธาตุต่างๆ พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องของขันธ์ ๕ เพื่อความคลายยึดมั่นถือมั่น แสดงเรื่องทุกข์และความดับแห่งทุกข์ โดยการทำความเข้าใจเรื่องขันธ์ ๕ นั่นเอง

พุทธปรัชญาเป็นทฤษฎีความเป็นจริงแบบวิภัชชวาท คือ ทฤษฎีความเป็นจริงที่ว่าด้วยการกล่าว จำแนก แยกแยะ ความจริงในพุทธปรัชญาจัดเป็นสัจนิยม (Realism) ที่ถือว่าโลกทางกายภาพนอกตัวเรามีอยู่จริงและมีความเป็นจริงในตัว ไม่ขึ้นกับความคิด ความเห็น หรือความรู้ของมนุษย์ เรื่องของขันธ์ ๕ ไม่ใช่เป็นเพียงการทำความเข้าใจในปัญหาทางอภิปรัชญาเท่านั้น แต่ยังเป็นการทำความเข้าใจในความจริงของชีวิตตลอดทั้งสาย การเข้าถึงหลักความจริงในพระพุทธศาสนา (นิพพาน) สามารถเข้าได้ด้วยการปฏิบัติตนให้พ้นจากกิเลสเท่านั้น

 

Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕