หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระเนติธร มหาปุญฺโญ (โสพิมพา)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๙ ครั้ง
การศึกษาเปรียบเทียบคุณธรรมของนักปกครองในจักกวัตติสูตร ในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับคัมภีร์หลุนอวี่ในศาสนาขงจื๊อ (สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ)
ชื่อผู้วิจัย : พระเนติธร มหาปุญฺโญ (โสพิมพา) ข้อมูลวันที่ : ๒๖/๐๔/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  แสวง นิลนามะ
  กฤต ศรียะอาจ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบคุณธรรมของนักปกครองในจักกวัตติสูตร                  ในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับคัมภีร์หลุนอวี่ในศาสนาขงจื๊อ” นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ       ๑) เพื่อศึกษาคุณธรรมของนักปกครองในจักกวัตติสูตรในพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาคุณธรรมของนักปกครองในคัมภีร์หลุนอฺวี่ในศาสนาขงจื๊อ และ ๓) เพื่อเปรียบเทียบคุณธรรมของ    นักปกครองในจักกวัตติสูตรในพระพุทธศาสนาเถรวาทและคัมภีร์หลุนอวี่ในศาสนาขงจื๊อ

ผลการศึกษาพบว่า

จักกวัตติสูตรนั้น เป็นพระสูตรว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิ พระมหากษัตริย์ หรือนักปกครอง และนอกจากนั้น พระสูตรนี้ดังกล่าวยังหมายรวมถึงนักการเมืองในระดับชาติ นักการเมืองในระดับท้องถิ่นด้วย เพราะทุกคนในทุกภาคส่วนล้วนแต่มีส่วนสำคัญในการผลักดัน ในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศและสังคมให้เป็นในทิศทางที่พึงประสงค์ คือความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ความสันติสุขของสังคม ความเป็นอยู่อย่างผาสุกของประชาชนภายในประเทศชาติด้วยกันทั้งนั้น และนักปกครองนั้นจะต้องมีหลักคุณธรรมประจำตัว ได้แก่ (๑) หลักทศพิธราชธรรม (๒) ราชสังคหวัตถุ ๔   (๓) อปริหานิยธรรม ๗ (๔) สัปปุริสธรรม ๗ (๕) หลักการทูต ๘

คัมภีร์หลุนอวี่ เป็นการรวมบทสนทนาระหว่างขงจื่อกับศิษย์ เป็นจุดเริ่มต้นของแรงบันดาลใจที่พัฒนาจากความสัมพันธ์ในหมู่เพื่อนที่เป็นครู-ศิษย์ร่วมสำนัก ในประเด็นเกี่ยวกับ ๑) การครองตน ๒) การเรียนการศึกษา ๓) การคบเพื่อน ๔) ความกตัญญู ๕) การเมืองการปกครอง
๖) มนุษยธรรมหรือเมตตาธรรม หรือที่เรียกว่า เหริน ๗) ขนบ จารีต ประเพณี พิธีกรรม หรือที่เรียกว่า หลี่ และ ๘) ความมุ่งมั่น ตั้งใจ
และนักปกครองที่ดีนั้นจะต้องมีหลักการคุณธรรมของนักปกครอง ๔ ประการ ได้แก่ ๑) หลักเหรินหรือเมตตาธรรม ๒) หลักหลี่ หรือจารีต ๓) หลักเสี้ยว (หลักกตัญญู) ๔) หลักจุงหยุง หรือ หลักสายกลาง

จากการศึกษาเปรียบเทียบคุณธรรมของนักปกครองในจักกวัตติสูตรในพระพุทธศาสนา   เถรวาทและคัมภีร์หลุนอฺวี่ในศาสนาขงจื๊อ พบว่า ในการปกครองนั้นต้องอาศัยหลักในการปกครองทั้งหลักนิติธรรม และหลักศีลธรรม ไม่ควรเน้นหนักไปทางใดทางหนึ่งอันจะเป็นเหตุให้หลักการไม่มั่นคง ส่วนที่ต่างกันนั้น จักกวัตติสูตรกล่าวโดยภาพรวมใหญ่คือใช้หลักในการปกครองคือกฎหมายรัฐ และกฎด้านศีลธรรมคือกุศลกรรมบถ ๑๐ ซึ่งจะต้องรับโทษทางวัฏฏะเป็นส่วนเสริม ส่วนในคัมภีร์หลุนอฺวี่เน้นที่หลักคุณธรรมการอยู่ร่วมกันในสังคมคือหลักเมตตาและกตัญญูเป็นหลัก ส่วนกฎหมายนั้นมาจากหลักแห่งจารีต

 

Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕