หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » อุไรวรรณ โคตะระ
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๐ ครั้ง
การพัฒนาความเป็นกัลยาณมิตร โดยกระบวนการฝึกทักษะทางสังคม ของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย ศูนย์ประเทศไทย (สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว)
ชื่อผู้วิจัย : อุไรวรรณ โคตะระ ข้อมูลวันที่ : ๒๘/๐๔/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ชาติชาย พิทักษ์ธนาคม
  พระปลัดสรวิชญ์ อภิปญฺโญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

 

การวิจัยเรื่องการพัฒนาความเป็นกัลยาณมิตร โดยกระบวนการฝึกทักษะทางสังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย ศูนย์ประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาระดับความเป็นกัลยาณมิตรของนักศึกษา ก่อนเข้ากระบวนการฝึกทักษะทางสังคม ๒) ศึกษาระดับความเป็นกัลยาณมิตรของนักศึกษา หลังเข้ากระบวนการฝึกทักษะทางสังคม ๓) เปรียบเทียบระดับความเป็นกัลยาณมิตรของนักศึกษา ก่อนและหลังเข้ากระบวนการฝึกทักษะทางสังคม และ ๔) เสนอแนวทางการพัฒนาความเป็นกัลยาณมิตร โดยกระบวนการฝึกทักษะทางสังคมของนักศึกษา รูปแบบการวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental design) วัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่สมัครใจเข้าร่วมกระบวนการฝึกทักษะทางสังคม จำนวน ๓๘ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานโดยสถิติ Paired samples t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

๑) ก่อนและหลังเข้ากระบวนการฝึกทักษะทางสังคม นักศึกษามีความเป็นกัลยาณมิตรโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก

๒) หลังเข้ากระบวนการฝึกทักษะทางสังคม นักศึกษามีความเป็นกัลยาณมิตร โดยภาพรวมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่านักศึกษามีความเป็นกัลยาณมิตรสูงขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด ๒ ด้าน คือ ด้านน่ารัก และด้านไม่ชักนำไปในทางเสื่อมเสีย ส่วนความเป็นกัลยาณมิตรด้านน่าเคารพ ด้านน่าเจริญใจ ด้านรู้จักพูดให้ได้ผล ด้านอดทนต่อถ้อยคำ และด้านแถลงเรื่องล้ำลึก สูงขึ้นอยู่ในระดับมาก

๓) แนวทางการพัฒนาความเป็นกัลยาณมิตร โดยกระบวนการฝึกทักษะทางสังคม ที่ส่งผลต่อการพัฒนาความเป็นกัลยาณมิตร โดยภาพรวมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ คือ ทักษะในการติดต่อสื่อสารส่งผลต่อการพัฒนาความเป็นกัลยาณมิตรด้านไม่ชักนำไปในทางเสื่อมเสีย และด้านแถลงเรื่องล้ำลึก ส่วนการผูกมิตรส่งผลต่อการพัฒนาความเป็นกัลยาณมิตรด้านน่ารัก และด้านน่าเจริญใจ

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕