หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระวัชระ สํวโร (กสิวัฒน์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๙ ครั้ง
กลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งตามหลักพุทธบริหารการศึกษา สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระวัชระ สํวโร (กสิวัฒน์) ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๕/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อินถา ศิริวรรณ
  พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๙ มกราคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารความขัดแย้ง
ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา  2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งตามหลักพุทธบริหารการศึกษา สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ 3) เพื่อเสนอกลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งตามหลักพุทธบริหารการศึกษา สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เป็นรูปแบบผสมวิธี คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่าง 410 ท่านทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการจัดสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิ 10 ท่าน เพื่อใช้องค์ความรู้ดังกล่าวมาพัฒนากลยุทธ์ และการจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 8 ท่าน เพื่อการตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพการบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาพรวม พบว่า มีระดับการบริหารอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การร่วมมือและการประนีประนอม มีระดับการบริหารอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการหลีกเลี่ยงและการเอาชนะ มีระดับการบริหารอยู่ในระดับมาก

2. กลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งตามหลักพุทธบริหารการศึกษา สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย 1) วิสัยทัศน์ คือ ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจรัก ร่วมศรัทธา ลดปัญหาความขัดแย้งด้วยหลักพุทธธรรม 2) พันธกิจ ประกอบด้วย (1) เสริมสร้างความสมัครสมานสามัคคีและลดการขัดแย้งในสถานศึกษา (2) เสริมสร้างแนวทางการปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกันโดยสุจริตธรรม (3) เสริมสร้างแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่และพัฒนาสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ 3) วัตถุประสงค์ เพื่อลดความขัดแย้งในสถานศึกษา พัฒนาสถานศึกษาให้มีศักยภาพและมีคุณธรรมจริยธรรม โดยบูรณาการกับหลักพุทธธรรม 4) กลยุทธ์ (1) กลยุทธ์การร่วมมือ มีลักษณะแบบนกฮูกที่เผชิญหน้ากันและสุขุม (2) กลยุทธ์ การประนีประนอม มีลักษณะแบบสุนัขจิ้งจอกที่ประนีประนอมและแก้ปัญหาเฉพาะหน้า (3) กลยุทธ์การหลีกเลี่ยง มีลักษณะแบบเต่าที่ถอนตัวและหดหัว (4) กลยุทธ์การเอาชนะ มีลักษณะแบบฉลามที่บังคับและใช้กำลัง และ 5) หลักพุทธบริหารการศึกษาที่ส่งเสริมการบริหารความขัดแย้ง คือ หลักสาราณียธรรม 6

3. ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจสอบกลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งตามหลักพุทธบริหารการศึกษาสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พบว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในสถานศึกษาเพื่อที่จะลดปัญหาความขัดแย้งในสถานศึกษาได้จริง

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕