หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พูลศิริ โคตรชมภู
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๐ ครั้ง
การศึกษากายานุปัสสนาในมหาสติปัฏฐานสูตร
ชื่อผู้วิจัย : พูลศิริ โคตรชมภู ข้อมูลวันที่ : ๐๕/๐๘/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  โสวิทย์ บำรุงภักดิ์
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

สารนิพนธ์เรื่องการศึกษากายานุปัสสนาในมหาสติปัฏฐานสูตรมีวัตถุประสงค์ ๒ ข้อ คือ ๑ เพื่อศึกษาหลักการเจริญกายานุปัสสนาในมหาสติปัฏฐานสูตร ๒ เพื่อศึกษาแนวการปฏิบัติการเจริญกายานุปัสสนาในชีวิตประจำวัน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสารโดยการศึกษาพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการทางพระพุทธศานา และ ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์

              ผลจากการศึกษาพบว่า การเจริญกายานุปัสสนาในมหาสติปัฏฐาน เป็นการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาคือการรักษาศีล เจริญสติ และเจริญสมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญารู้เห็นสภาพความเป็นจริง จุดเริ่มแห่งการเรียนรู้คือการเจริญกายานุปัสสนาในมหาสติปัฏฐาน เพื่อให้มีสติอย่างต่อเนื่องมีพลังเพียงพอในการเห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไปของนามรูปก็ต้องเป็นสติที่กล้าแกร่งมีพลังเพียงพอในการทำลายการสืบต่อของอิริยาบถที่เรียกว่าสันตติ การเห็นรูปนามเกิดดับสม่ำเสมอได้นั้นต้องเป็นผู้มีความเพียรมากพอ มีอินทรีย์ที่กล้าแข็ง การเจริญวิปัสสนาภาวนาในพระพุทธศาสนาได้แก่ การปฏิบัติในหลักสัมมาสติคือ การใช้สติและปัญญาพิจารณาในฐานทั้ง ๔ อย่างต่อเนื่อง คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐานคือสติที่เข้าไปตั้งมั่นในกาย เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานคือสติที่เข้าไปตั้งมั่นในเวทนา จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน คือสติที่เข้าไปตั้งมั่นในจิต ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือสติที่เข้าไปตั้งมั่นในธรรม

             เมื่อวิเคราะห์การเจริญกายานุปัสสนาในมหาสติปัฏฐานสูตรแล้ว จะเห็นได้ว่าการเจริญสติปัฏฐานในทุกอิริยาบทจะทำให้มีสมาธิรู้แจ้งในการเกิดดับของรูปธรรม มีรูปแบบการพิจารณาลมหายใจเข้าออก หากทำให้มากแล้วจะทำให้จิตประณีต สดชื่น อยู่เป็นสุข และทำอกุศลธรรมชั่วร้ายที่เกิดขึ้นแล้วให้อันตธานไปและสงบไปโดยเร็ว.

Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕