หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » เบญญาภาอัจฉฤกษ์
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๑ ครั้ง
ภูมิคุ้มกันทางอาชีพแบบพอเพียงของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (สาขาวิชาการพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : เบญญาภาอัจฉฤกษ์ ข้อมูลวันที่ : ๐๔/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีรัตนบัณฑิต
  เดชา กัปโก
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาภูมิคุ้มกันทางอาชีพแบบพอเพียงของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน  ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ๒) สร้างภูมิคุ้มกันทางอาชีพแบบพอเพียงของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน  ๓)  นำเสนอรูปแบบการสร้างภูมิคุ้มกันทางอาชีพแบบพอเพียงของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน  ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธีทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ  เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง  จำนวน  ๒๖๕  คน  ผู้ให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์  จำนวน  ๒๕  คน  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนาความ

    ผลการวิจัยพบว่า 

    ๑. ภูมิคุ้มกันทางอาชีพแบบพอเพียงของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ประกอบด้วย  ๑)  ด้านความคิด มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และคิดอย่างเป็นระบบ  ๒) ด้านจิตใจ  มีความภาคภูมิใจในการประกอบอาชีพ ๓) ด้านสังคม  มีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ๔) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน  ๕) ด้านเทคโนโลยี มีการพัฒนาเทคโนโลยีภูมิปัญญาให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาวิสาหกิจของได้อย่างเหมาะสม  ๖) ด้านเศรษฐกิจ ดำรงชีวิตอย่างพออยู่พอกินสมควรตามอัตภาพ  

             ๒. การสร้างภูมิคุ้มกันทางอาชีพแบบพอเพียงของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ก่อให้เกิดหลักสูตรการฝึกอบรมการทอผ้าไหมให้ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน  และมีการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต  โดยใช้หลักพอประมาณ  หลักเหตุผล หลักภูมิคุ้มกัน ส่งผลให้กลุ่มเกิดความยั่งยืนในการประกอบอาชีพ

              ๓. รูปแบบภูมิคุ้มกันทางอาชีพแบบพอเพียงของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน  ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มี ๒ รูปแบบ  ได้แก่  รูปแบบการสร้างภูมิคุ้มกันทางอาชีพแบบพอเพียงของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนโดยชุมชนสร้างขึ้น  และรูปแบบการสร้างภูมิคุ้มกันทางอาชีพแบบพอเพียงของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยภาคีเครือข่าย 

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕