หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » อนุชิต ณ สิงห์ทร
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๕ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์พุทธธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมค่าวซอ “บัวระวงส์ไกรสร”
ชื่อผู้วิจัย : อนุชิต ณ สิงห์ทร ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระอักขราภิศุทธิ์ สิริวฑฺฒโน
  พูนชัย ปันธิยะ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๘ มกราคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของวรรณกรรมค่าวซอ                           “บัวระวงส์ไกรสร” ๒) เพื่อศึกษาพุทธธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมค่าวซอ บัวระวงส์ไกรสร และ ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์พุทธธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมค่าวซอ บัวระวงส์ไกรสร และการนำไปใช้ในสังคม

          การวิจัยพบว่า วรรณกรรมค่าวซอ “บัวระวงส์ไกรสร” มีกำเนิดมาจากค่าวธรรม เรื่อง “สุริยะวงส์ไกรสร” กวีชาวล้านนาได้แต่งขึ้นใหม่โดยใช้ฉันทลักษณ์ค่าวซอ แต่เดิมจารลงในใบลานต่อมาได้พิมพ์ในกระดาษ ใช้อักษรธรรมล้านนาบันทึกพบต้นฉบับที่จารลงใบลานจำนวน ๖ ฉบับ และฉบับที่พิมพ์จำนวน ๒ ฉบับ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมสหวิทยาลัยล้านนา วิทยาลัยครูเชียงใหม่ ได้คัดเลือกเอาฉบับของน้อยอ้าย ไชยเมืองเลน บ้านป่าบงหน้อย ตำบลแม่คือ อำเภอ                            สันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ แต่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ มาปริวรรตเป็นอักษรไทยกลางและพิมพ์เผยแพร่                 ในเอกสารอันดับที่ ๑๘ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สหวิทยาลัยล้านนาเชียงใหม่ วรรณกรรมค่าวซอ                                 “บัวระวงส์ไกรสร” ได้ปรากฏพุทธธรรมที่สำคัญจำนวน ๘ ข้อ ได้แก่ ๑) ความทุกข์ ๒) ตัณหา                                  ๓) กรรม ๔) ศีล ๕) ความกตัญญูกตเวที ๖) ความเมตตา ๗) ความไม่ประมาท และ ๘) การให้ทาน พุทธธรรมที่ปรากฏนั้นเป็นหลักธรรมระดับพื้นฐาน ค่าวซอได้ถูกสร้างขึ้นมาใช้เป็นเครื่องมือขัดเกลาจิตใจคนในสังคมส่งเสริมความเข้าใจในชีวิตและจริยธรรโดยผ่านภูมิปัญญาด้านวรรณกรรมท้องถิ่น นอกจากนั้นยังเป็นความรู้ที่สามารถนำมาใช้ในสังคมปัจจุบันได้เป็นอย่างดี เช่น ปัญหาความทุกข์ ความขัดแย้ง สร้างสันติพุทธธรรมที่ปรากฏสามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการดำเนินชีวิตได้นอกจากนั้นยังเอื้อประโยชน์ต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านภาษาและวรรณกรรมล้านนา และเป็นสื่อสร้างความบันเทิงช่วยกระตุ้นจินตนาการของผู้อ่านผู้ฟังได้เป็นอย่างดี

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕