หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระทวีศักดิ์ กิตฺติญาโณ (วรกิจเจริญวงศ์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๓ ครั้ง
การศึกษากุศโลบายการสอนประชาชนให้มีศีลธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาของครูบาชัยยะวงศ์ษาพัฒนา
ชื่อผู้วิจัย : พระทวีศักดิ์ กิตฺติญาโณ (วรกิจเจริญวงศ์) ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระอธิการสมนึก จรโณ
  พระครูสิริสุตานุยุต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๘ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษากุศโลบายการสอนประชาชนให้มีศีลธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา ของครูบาชัยยะวงศ์ษาพัฒนา มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ ๑) เพื่อศึกษาประวัติและคำสอนของครูบาชัยยะวงศ์ษาพัฒนา  ๒) เพื่อศึกษากุศโลบายการสอนประชาชนให้มีศีลธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาของครูบาชัยยะวงศ์ษาพัฒนา  ๓) เพื่อเสนอแนวทางการประยุกต์กุศโลบายของครูบาชัยยะวงศ์ษาพัฒนา ในการสอนประชาชนของพระสงฆ์ไทย เป็นการศึกษาโดยการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา แล้วนำเสนอในรูปแบบพรรณนา

 

             ผลการศึกษาพบว่า ครูบาชัยยะวงศ์ษาพัฒนา (พระครูพัฒนากิจจานุรักษ์) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ท่านเกิดที่ ตำบลหันก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๘ คน ครอบครัวของท่านเป็นชาวไร่ชาวนาที่ยากจน วิถีชีวิตของครูบาชัยยะวงศ์ษาพัฒนาเป็นวิถีชีวิตที่มีความลำบาก คำสอนที่สำคัญของครูบาชัยยะวงศ์ษาพัฒนา เป็นคำสอนในเรื่องความเชื่อ ครูบาชัยยะวงศ์ษาพัฒนา ท่านเป็นผู้ส่งเสริมให้ชาวเขาเลิกบูชาความเชื่อเรื่องการนับถือผี เลิกทำบาป เลิกประกอบอาชีพที่ไม่สุจริต   ท่านสอนให้ปฏิบัติ โดยการเข้าวัดทำบุญ เป็นการปลูกฝังการสร้างความดีให้ชุมชนได้ตระหนักในทาน คือ การให้ การเสียสละ การดำรงชีวิตโดยยึดหลักศีล ๕

 

             นอกจากนั้นครูบาชัยยะวงศ์ษาพัฒนา ยังมีกุศโลบายและการสอนประชาชนให้มีศีลธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาโดยการนำหลักพุทธธรรมที่ใช้ในการทำงาน เป็นเรื่องง่าย ๆ ใกล้ตัว เช่น อิทธิบาท ๔ มาปรับใช้ในการทำงาน รักงานที่ทำ ขยันทำงาน รับผิดชอบงาน และรู้จักไตร่ตรองให้ถี่ถ้วน หลักพุทธธรรมกับการปฏิบัติที่ควบคู่กับการพัฒนาให้เกิดความเจริญทั้งทางด้านความคิด สติปัญญา และการดำรงชีวิต ได้แก่ พรหมวิหาร ๔ ศีล ๕ หลักการมีส่วนร่วม ความสามัคคี สังคหะวัตถุ ๔ อิทธิบาท ๔ หลักธรรมเหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์ต่อชุมชน ในการนำมาพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง และท่านได้ใช้กุศโลบายในการเผยแผ่ธรรมะโดยการเล่านิทาน เพื่อให้ชาวบ้านได้เข้าใจง่ายพูดเป็นภาษากะเหรี่ยงหรือภาษาชาวเขา

 

          กุศโลบายและการสอนประชาชนของครูบาชัยยะวงศ์ษาพัฒนา ด้านความเชื่อ ครูบาชัยยะวงศ์ษาพัฒนา พยายามที่จะสอนชาวเขาให้เข้าใจในหลักธรรมคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยใช้กุศโลบายต่างๆ เช่น ความเชื่อการนับถือผีปู่ย่า ความเชื่อเรื่องใจบ้าน ความเชื่อเรื่องการแต่งกาย เป็นความเชื่อที่ท่านเป็นผู้แสดงธรรมะ เพื่อให้ชาวกะเหรี่ยงเข้าใจหลักธรรมและน้อมนำมาปฏิบัติตาม ทำให้ชาวกะเหรี่ยงเปลี่ยนความคิดและวิถีชีวิตก็เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด เป็นการใช้เหตุผลบนพื้นฐานความจริง การสร้างกิจกรรมแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้ชาวบ้านได้ทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาร่วมกัน อันจะทำให้เกิดความรักสามัคคีในหมู่บ้าน

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕