หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระรุ่งตะวัน สํวโร (เกษสว่าง)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๓ ครั้ง
การประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 กับการบริหารงานของผู้นำชุมชนในเขต เทศบาลตำบลกุดจับ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี
ชื่อผู้วิจัย : พระรุ่งตะวัน สํวโร (เกษสว่าง) ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราเชนทร์ วิสารโท
  พระมหาปริญญา วรญาโณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ๑) หลักอิทธิบาท ๔ ในทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) สภาพปัญหาการบริหารงานของผู้นำชุมชนในเขตเทศบาลตำบลกุดจับ อำเภอกุดจับ  จังหวัดอุดรธานี   และ ๓) แนวประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการบริหารงานของผู้นำชุมชนในเขตเทศบาลตำบลกุดจับ  อำเภอกุดจับ  จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา

พระพุทธเจ้าทรงแสดง อิทธิบาท ๔ ไว้มีองค์ประกอบ คือ ฉันทะ หมายถึงสร้างความพอใจในกุศล คือประสงค์จะทายิ่งขึ้น วิริยะ หมายถึงการปรารถนา ความเพียรทางใจ สัมมาวาจา จิตตะ หมายถึงความเพียรที่มุ่งมั่น ไม่ทอดทิ้งภาระ และวิมังสา หมายถึงปัญญากิริยาที่รู้ชัด ความไม่หลง

๒) คุณค่าของอิทธิบาท ๔ เป็นหลักธรรมแห่งความสำเร็จแก่ผู้นำไปปฏิบัติที่ทันสมัยอยู่เสมอ นอกจากจะเป็นคุณธรรมนำไปสู่ความสำเร็จในการงานแล้ว ยังเป็นอายุวัฒนธรรม คือความเป็นเหตุให้คนมีอายุยืนยาวด้วย นอกจากนั้น อิทธิบาท ๔ ยังมีสาระที่เกื้อหนุนการปฏิบัติ เมื่อเกิดฉันทะมีใจรักแล้วก็ให้พากเพียร เมื่อพากเพียรแล้วก็เอาใจใส่เสมอ และเปิดช่องให้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรอง

แนวทางการพัฒนาของผู้นำในเขตตำบลกุดจับ การที่ผู้นำเป็นบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติหรืออุปนิสัยที่ดี เป็นบุคคลที่สร้างความรู้สึกเลื่อมใสศรัทธาสำหรับผู้ตามได้เป็นอย่างดีซึ่งเกิดมาจากปฏิปทา หรือแนวทางปฏิบัติ  ดังนั้น ภาวะผู้นำชุมชน จึงต้องเป็นผู้นาที่สามารถนำได้ใน ๔ รูปแบบ คือ นำตน นำคน นำงาน และนำองค์การ นำตน คือ เป็นผู้นำที่สามารถนำตนเองให้รอดจากภัยพิบัติหรืออุปสรรคต่าง ๆ นอกจากจะสามารถพึ่งพาตนเองได้แล้วยังเป็นที่พึ่งพาอาศัยของผู้อื่นได้อีกด้วย เป็นที่เคารพนับถือศรัทธาของผู้อื่นที่อยู่ร่วมภายในองค์กรหรือสังคมนั้นๆ รวมถึงความสามารถที่จะนำพาเขาเหล่านั้นให้ประสบผลสำเร็จได้ด้วยการนำงานพัฒนาให้บรรลุสู่ความสำเร็จดังที่ทรงต้องได้นั่นเอง โดยผู้นำเป็นบุคคลสำคัญในการกำหนดนโยบายหรือทิศทางขององค์กรหรือวัดนั้น ๆ ได้อย่างรอบรู้ในเหตุและผล เป็นผู้มีความสามารถในอันที่จะประสานทุกฝ่ายให้เกิดการร่วมมือกันได้ดีด้วยความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลรู้จักเลือกสรรบุคคลให้เข้ามาทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม

การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการบริหารงานของผู้นำชุมชนในเขตเทศบาลตำบลกุดจับ  อำเภอกุดจับ  จังหวัดอุดรธานี พบว่า ผู้นำชุมชนต้องมีพอใจในงานที่ทำ และมีความเพียรพยายามเอาใจใส่ในหน้าที่การงานนั้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยการพินิจพิจารณาอย่างรอบคอบรอบด้าน การศึกษาเล่าเรียนจะประสบผลสำเร็จพัฒนาขึ้น การพัฒนาจิตใจคือการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นรวมทั้งการพัฒนาหน้าที่การงานให้ดีขึ้นได้นั้นต้องมีธรรมประจำใจ คืออิทธิบาท ๔ ประการ เป็นหลักธรรมสำหรับพัฒนาบุคคลให้เป็นบุคคลที่ดีของสังคมทำให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ประกอบด้วย ฉันทะ มีใจรัก วิริยะ พากเพียรทำ จิตตะ เอาจิตฝักใฝ่ วิมังสา ใช้ปัญญาสอบสวน หลักธรรมดังกล่าว เปรียบเสมือนต้นทุนชีวิต ช่วยให้ประสบความสำเร็จในทุกกิจการที่กระทำทั้งทางด้านการศึกษา การประกอบอาชีพ การดำรงชีวิตทำให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมตลอดถึงเป็นที่พึ่งของคนอื่นได้ด้วย ซึ่งสามารถบูรณาการในการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕