หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระวิศิษฐ์ โชติโก (สุดงาม)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๖ ครั้ง
ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ การบริหารงานของผู้นำชุมชนใน เขตเทศบาลตำบลหนองเลิง อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ
ชื่อผู้วิจัย : พระวิศิษฐ์ โชติโก (สุดงาม) ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราเชนทร์ วิสารโท
  บุญส่ง สินธุ์นอก
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

 

การศึกษาวิจัยเรื่อง “ศึกษาประสิทธิภาพการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท ๔ ของผู้นำชุมชนในเขตเทศบาลตำบลหนองเลิง  อำเภอเมือง  จังหวัดบึงกาฬ” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาหลักอิทธิบาท  ๔ ในทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานของเทศบาลตำบลหนองเลิง อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ  ๓)เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท  ๔ ในการบริหารงานของผู้นำชุมชนในเขตเทศบาลตำบลหนองเลิง  อำเภอเมือง  จังหวัดบึงกาฬ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับหลักอิทธิบาท ๔ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท  พบว่า หลักการและแนวคิดในการทำงาน  ให้ประสบผลสำเร็จ  ตามหลักอิทธิบาท  ที่ปรากฏ  ในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทความหมายของอิทธิบาท ๔ หมายถึง  หลักธรรมนำไปสู่ความสำเร็จ  คือ   ฉันทะ  ความพอใจ, มีใจรักในงานที่ทำ ด้วยใจรัก วิริยะ ความพากเพียร  อดทน  ต่อความลำบากบากบั่น  ไม่ว่าจะเป็นอาชีพใดๆ  ก็ตามขอให้ทำอย่างสุจริต  จิตตะ  เอาจิตฝักใฝ่  ฝ่ายใจรัก  ด้วยความพยายามด้วยเอาจิตพยายามอาชีพนั้นๆ  ให้บรรลุผลสำเร็จ  วิมังสา  ใช้ปัญญาสอบสวนในงานที่ทำ ติตรองหาเหตุผลและปรับปรุงแก้ไขเพื่อจะให้ประสบผลสำเร็จให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปจากผลการศึกษาหลักการและแนวคิดในการทำงาน  ให้ประสบผลสำเร็จตามหลักอิทธิบาท ๔ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาซึ่งให้ความสำคัญการดำรงชีวิตด้วยหลักของอิทธิบาท ๔ คือ เส้นทางไปสู่ความสำเร็จหรือคุณธรรมที่ให้ถึงความสำเร็จในการทำงาน ช่วยให้การปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลได้ผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ซึ่งทางแห่งความสำเร็จนั้น ประกอบไปด้วย ๑) ฉันทะ คือ ความพอใจ ความมีใจรักในสิ่งที่ทำ และพอใจใฝ่รักในจุดหมายของสิ่งที่ทำนั้น อยากทำสิ่งนั้นๆ ให้สำเร็จ อยากให้งานนั้น หรือสิ่งนั้นบรรลุถึงจุดหมาย และปรารถนาจะทำให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไป ซึ่งจะแสดงออกมาด้วยการกระทำด้วยความพอใจ เต็มใจ และสนใจในสิ่งที่ตนกำลังกระทำอยู่ หรืองานที่ได้รับมอบหมายให้กระทำ ทำงานด้วยใจรัก ๒) วิริยะ คือ ความเพียร ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทนเอาธุระ ไม่ท้อถอย ซึ่งแสดงออกมาด้วยความเพียร พยายามในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรู้สึกไม่ท้อถอย และมีความกล้าที่จะกระทำงานนั้นๆ ถ้าเห็นอะไรเป็นอุปสรรคหรืองานที่มาอยู่ข้างหน้าแล้วจะต้องเอาชนะทำให้สำเร็จ ทำงานให้เป็นเรื่องที่ท้าทายจะสู้และจะพยายามเพื่อทำให้สำเร็จ ๓) จิตตะ คือ ความตั้งใจ หรือเอาใจฝักใฝ่ ได้แก่ ความมีจิตผูกพัน จดจ่อ เฝ้าคิดเรื่องนั้นใจอยู่กับงานนั้น ไม่ปล่อย ไม่ห่างไปไหน ไม่สนใจไม่รับรู้เรื่องอื่นๆ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำและทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป อุทิศตัวอุทิศใจให้แก่สิ่งที่ทำ ซึ่งแสดงออกมาด้วยการเอาใจใส่ จดจ่อ ตั้งใจในการทำงานอย่างจริงจัง ไม่ปล่อยให้ความคิดฟุ้งซ่าน ๔) วิมังสา คือ ความไตร่ตรอง หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจหาเหตุผลและตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น ชอบคิด ค้นหาเหตุผล ชอบสอบสวนทดลอง มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง ซึ่งแสดงออกด้วยการใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองหาเหตุผลในสิ่งที่กระทำด้วยความพินิจพิเคราะห์ มีการวางแผน และวัดผลงานที่กระทำเสมอ จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า

แนวทางการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการบริหารจัดการองค์กรของผู้นำชุมชนการใช้ อิทธิบาท ๔ เป็นแนวทางการทำงาน ให้ประสบความสำเร็จที่พระพุทธองค์ได้ทรงสดับไว้อย่างแยบคลาย อันประกอบด้วยแนวปฏิบัติ ๔ ข้อ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ซึ่งใครๆก็ท่องได้ จำได้ แต่จะมีสักกี่คนที่ปฏิบัติได้ครบกระบวนความทั้ง ๔ ข้อ อันเป็น ๔ ขั้นตอนที่ต่อเนื่องหนุนเสริมกัน จะขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ ด้วยว่ามันเป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงกันทั้ง ๔ ข้อ จึงจะทำให้เราประสบผลสำเร็จในชีวิตและการงานได้ตามความมุ่งหวัง

วิธีการผสมผสานหรือประยุกต์ระหว่างบริหารจัดการกับคำสอนทางพระพุทธศาสนาแล้วเกิดความเปลี่ยนแปลงภายในองค์การที่เห็นชัด คือองค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นโดยเฉพาะตัวบุคคล ผู้นำองค์กรประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องอยู่ในศีลธรรม พนักงานในองค์กรก็จะถือเป็นแบบอย่างที่ดี ถ้าหากผู้บริหาร และบุคลากรในองค์การมีหลักธรรมเป็นเครื่องชี้นำแนวทาง การทำงานก็จะสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันปัญหาที่เคยเกิดขึ้นต่าง ๆ ความขัดแย้งก็ลดน้อยลง เพราะทุกคนได้เรียนรู้และนำหลักธรรมะทางพุทธศาสนาไปใช้

ดังนั้นถ้าผู้นำหรือผู้บริหารมองเห็นประโยชน์ของการใช้หลักคำสอนของพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในชีวิตทางที่ดีคือ ทางสายกลาง และการรู้จักการปฏิบัติตนที่ถูกต้องและให้รู้สึกละอายเวลาที่ทำผิดในเรื่องของการทำงาน  การให้โอกาส สร้างบุคลากรรุ่นใหม่มาช่วยพัฒนาองค์กรของตนให้มีความเจริญรุ่งเรืองต่อไป

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕