หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ประจิณ ปัญโญ
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๒ ครั้ง
การพึ่งพาตนเองเชิงพุทธของวัยรุ่นผ่านโครงการบูรณาการช่างลงรักปิดทอง
ชื่อผู้วิจัย : ประจิณ ปัญโญ ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูศรีวรพินิจ
  พระวิสิทธิ์ ฐิตวิสิทฺโธ
  พูนชัย ปันธิยะ
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดการพึ่งพาตนเองของวัยรุ่นตามหลักพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษากิจกรรมการพึ่งพาตนเองของวัยรุ่นตามโครงการบูรณาการช่างลงรักปิดทอง  โรงเรียนถ้ำปินวิทยาคม  จังหวัดพะเยา  และ ๓) เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการพึ่งพาตนเองเชิงพุทธของวัยรุ่นผ่านโครงการบูรณาการช่างลงรักปิดทอง  โรงเรียนถ้ำปินวิทยาคม  จังหวัดพะเยา         กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนถ้ำปินวิทยาคม จังหวัดพะเยา ปีการศึกษา ๒๕๖๐ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินความพึงพอใจ  ผลการวิจัยพบว่า

             ๑. แนวคิดการพึ่งพาตนเองของวัยรุ่นตามหลักพระพุทธศาสนาต้องปฏิบัติตาม           นาถกรณธรรม ๑๐ คือ ๑) ประพฤติตนดีงาม ๒) ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก ๓) คบคนดี ๔) ว่านอนสอนง่าย ๕) เอาใจใส่ในกิจน้อยใหญ่ ๖) เป็นผู้ใคร่ธรรม ๗) ขยันหมั่นเพียร ๘) มีจิตสันโดษ ๙) ระลึกสิ่งที่ทำคำที่พูดไว้ได้ ๑๐) มีปัญญาหยั่งรู้เหตุผล แนวทาง ๑๐ ประการนี้ นำไปสู่การสร้างความดีที่พึ่งพาตนเองได้

             ๒. กิจกรรมการพึ่งพาตนเองของวัยรุ่นตามหลักพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงใช้หลักและวิธีการสอนด้วยพระพุทธองค์เอง สอนโดยใช้เทคนิควิธีการ สอนโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ และสอนโดยสื่อโสตทัศนูปกรณ์ และยึดหลัก ๔ ประการ คือ ๑) ให้เห็นชัดแจ้ง ๒) จูงใจให้เห็นจริง ๓) เร้าใจให้แกล้วกล้า ๔) ชโลมใจให้แช่มชื่น ผลสัมฤทธิ์ คือ ทำให้เข้าใจหลักธรรมของพระพุทธองค์หันมาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา วัยรุ่นสามารถนำหลักธรรมนี้ ไปใช้กับชีวิตประจำวันได้ด้วยการปฏิบัติตาม   

             ๓. ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมการพึ่งตนเองเชิงพุทธของวัยรุ่นผ่านโครงการบูรณาการช่างลงรักปิดทอง  โรงเรียนถ้ำปินวิทยาคม  จังหวัดพะเยา  ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลอง คือ ๑) ผลสัมฤทธิ์ด้านความก้าวหน้าทางการเรียนรายบุคคลมีคะแนนหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากคะแนนก่อนเรียน เมื่อวิเคราะห์รวมทั้งกลุ่มนักเรียนมีความก้าวหน้าเฉลี่ยเป็นร้อยละ ๓๐.๖๐ ๒) ผลสัมฤทธิ์ตามเกณฑ์มาตรฐานการเรียนรู้ของโรงเรียน นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ๓) ผลสัมฤทธิ์โดยการทดสอบที (t-test) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ๔) ผลสัมฤทธิ์ด้านความพึงพอใจทางการเรียน เมื่อวิเคราะห์ทุกรายการมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ ๔.๗ ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด และค่า S.D. รวมมีค่าเท่ากับ  .๕๑ ๕) ผลสัมฤทธิ์การประเมินผลงานด้านคุณภาพและด้านปริมาณ พบว่า นักเรียนมีคะแนนในระดับคุณภาพระดับดีขึ้นไปจำนวน ๑๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐

 

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕