หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระวิรัตน์ ปภสฺสโร (ขาวสะอาด)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๘ ครั้ง
การส่งเสริมหลักสังฆสามัคคีในพระพุทธศาสนา
ชื่อผู้วิจัย : พระวิรัตน์ ปภสฺสโร (ขาวสะอาด) ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระโสภณพัฒนบัณฑิต
  โสวิทย์ บำรุงภักดิ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์  ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับความสามัคคีในพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาหลักธรรมเพื่อความสามัคคีในพระพุทธศาสนา ๓) การประยุกต์หลักธรรมเพื่อสร้างความสามัคคีในพระพุทธศาสนา การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยทางเอกสาร โดยเก็บข้อมูลจากพระไตรปิฎก หนังสือ เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า

แนวคิดเกี่ยวกับหลักความสามัคคีในพระพุทธศาสนา กล่าวถึงลักษณะของความสามัคคีใน ๓ ลักษณะ คือ สังฆราชี (ความร้าวฉานของหมู่คณะ) สังฆเภท และ สังฆสามัคคี หมายเอาการตั้งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมที่ประกอบด้วยเมตตาในมิตรสหายและคนทั้งหลายในสังคม ความสามัคคีเป็นการแสดงออกซึ่งการร่วมแรงร่วมใจกัน เพื่อปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วงอย่างมีประสิทธิภาพ ความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ความสามัคคีจะก่อให้เกิดความรักใคร่กลมเกลียวกันและก็สามารถปฏิบัติงานทุกอย่างได้สำเร็จ

 

 

 

             การสร้างความสามัคคีของสังคม โดยหลักพุทธรรมในการสร้างความปรองดอง หรือความสามัคคีกัน เช่น หลักสังคหวัตถุ หลักสาราณียธรรม หลักอปริหานิยธรรม เป็นฐานแห่งการประพฤติปฏิบัติทั้งด้านส่วนตัวและสังคมส่วนรวม เป็นสื่อสัมพันธ์ให้เข้าถึงจิตใจของกันและกัน เป็นที่รักของกันและกันต่างฝ่ายต่างเคารพซึ่งกันและกัน สงเคราะห์กัน ถือความสามัคคีเป็นใหญ่ เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

 

 

 

 

 

 

 

      การประยุกต์หลักธรรมเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีในพระพุทธศาสนาเป็นการเชิญชวน ทุกคนให้ทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ด้วยความไม่ประมาท ไม่ฝืนทำอะไรตามใจหรือตามกิเลส ตัณหาของตนและเมื่อทุกคน ทุกฝ่าย และทุกคณะในสังคมไม่มีความขัดแย้งกัน มีแต่ความสามัคคีปรองดองกันแล้ว การปฏิบัติตามหลักธรรมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตร่วมกันจะช่วยส่งผลให้สังคมไทยมีความสงบร่มเย็น บ้าน ชุมชน สังคม และประเทศชาติที่น่าอยู่อาศัยด้วยผลแห่งความสามัคคี

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕