หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ศศิวิมล ทองโอฬาร
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๔ ครั้ง
การพัฒนาสติเพื่อสร้างสันติภาพ
ชื่อผู้วิจัย : ศศิวิมล ทองโอฬาร ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชปริยัติมุนี (เทียบ สิริญาโณ)
  พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

 

ดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง “การพัฒนาสติเพื่อสร้างสันติภาพ” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับสติที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาแนวคิดและวิธีการสร้างสันติภาพ (๓) เพื่อเสนอแนวทางของการพัฒนาสติเพื่อสร้างสันติภาพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์

ผลการวิจัยพบว่า สติที่ปรากฏในพระพุทธศาสนาเถรวาทเน้นเรื่องของการระลึกได้ ส่วนสติที่ปรากฏในตะวันตก คือ สติที่เกี่ยวกับ การสังเกตตนเอง การตื่นตัว การสนใจในขณะปัจจุบัน สติมีหน้าที่ในการเฝ้าระวัง สติปัฏฐาน ๔ คือหลักในการพัฒนาสติ บุคคลที่พัฒนาสติดีจะช่วยทำให้สามารถขจัดความขัดแย้งได้ ความขัดแย้งเกิดจาก กิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ และยังรวมไปถึง ตัณหา มานะ และ ทิฐิ จึงมีแนวคิดในการสร้างสันติภาพที่จะมาจัดการกับกิเลสเหล่านี้ สติจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการพัฒนาสติ ต้องเกิดจากการเรียนรู้ ฝึกฝน บุคคลที่ได้รับการพัฒนาแล้ว จะทำให้เกิดสันติในระดับบุคคล แล้วภาวะความเป็นสันติภาพก็จะเกิดขึ้น ดังนั้นแนวทางการพัฒนาสติแบบ ‘SANTI Model’ ซึ่งมาจากการประยุกต์หลักธรรม รู้ตื่น รู้ตัว รู้จริง รู้รอบ รู้ลึก และจากคำสัมภาษณ์ ทำให้เกิดผลโดยตรงในการพัฒนาสติเพื่อสร้างสันติภาพ การพัฒนาสติจะส่งผลในการพัฒนาตนเองและมีประโยชน์ต่อคนรอบข้าง การพัฒนาสติจะช่วยส่งผลใน ๓ ด้าน คือ ๑) ด้านพฤติกรรม ๒) ด้านจิตใจ ๓) ด้านปัญญา

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕