หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสังฆรักษ์วัชริศ อุตฺตมสีโล (สมยงค์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๔ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์การบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ตามหลักสังคหวัตถุ 4
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสังฆรักษ์วัชริศ อุตฺตมสีโล (สมยงค์) ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูวรวรรณวิฑูรย์
  สุเทพ สารบรรณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ของเทศบาลตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ๒) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคการบริหารงานตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ของเทศบาลตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา จำแนกปัจจัยตามส่วนบุคคลและ ๓) เพื่อศึกษาแนวทางในพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ของเทศบาลตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ซึ่งศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มีสิทธิ์ลงประชามติในเขตเทศบาลตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา จำนวน ๓๔๖ คน ซึ่งใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประเมินค่า ๕ ระดับ แบบสอบถามปลายเปิด และแบบสัมภาษณ์ สถิติ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เปรียบเทียบความแตกต่างโดยการทดสอบ ค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) โดยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

ผลการศึกษาการบริหารงานของเทศบาลตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ ด้านทาน (การช่วยเหลือ/สนับสนุน) ด้านปิยวาจา       (การพูดจา/สื่อสาร) ด้านอัตถจริยา (การให้บริการ) ด้านสมานัตตตา (การปฏิบัติสม่ำเสมอ/เสมอภาค/ยุติธรรม) พบว่า ประชาชน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของเทศบาลตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๓๙    เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ทั้งด้านทาน  ด้านปิยวาจา  ด้านอัตถจริยา และด้านสมานัตตตา พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของเทศบาลตำบลเจริญราษฎร์    อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา อยู่ในระดับปานกลางทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านปิยวาจา ๒) ด้านทาน         ๓) ด้านสมานัตตตา ๔) ด้านอัตถจริยา

เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนชนต่อการบริหารงานของเทศบาลตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่าประชาชนมีเพศ อายุ วุฒิการศึกษา อาชีพ และรายได้ในการใช้บริการต่างกัน มีความคิดเห็นต่างกัน     จึงยอมรับสมมุติฐานที่ตั้งไว้  

ผลการศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของเทศบาลตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา (๑) ด้านทานยังมีการให้ความช่วยเหลือประชาชนล่าช้า การให้ความกระจ่างในลายละเอียดข้อมูลของโครงการยังไม่ชัดเจน  ด้านการช่วยเหลือประชาชนด้วยความเสียสละ ความเห็นใจ และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ยังมีไม่มาก ควรมีการช่วยเหลือประชาชน เป็นไปด้วยความรวดเร็ว จริงใจ เสียสละ เห็นอก เห็นใจ และเอื้อเฟื้อต่อผู้รับบริการ (๒) ด้านปิยวาจา พบว่าข้าราชการ พนักงานในองค์กรบางคน ยังใช้ถ้อยคำที่ไม่เหมาะสม ทำให้ประชาชนที่มารับบริการในองค์กรเกิดความไม่ประทับใจในการบริการควรมีการทำแบบประเมินความพึงพอใจเพื่อนำมาปรับปรุง และพัฒนาให้เกิดความประทับใจทั้งสองฝ่าย (๓) ด้านอัตถจริยา การช่วยเหลือผู้ประสบภัยยังขาดการเตรียมความพร้อม จึงทำให้การช่วยเหลือเกิดการล่าช้า ไม่ทันเหตุการณ์ ผู้บริหารควรมีแผนงาน และติดตามด้านการเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือประชาชนเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือประชาชนได้รับภัยพิบัติต่าง ๆ (๔) ด้านสมานัตตตา ประชาชนบางคนไม่ได้รับความเสมอภาคด้านการให้บริการการติดต่องานล่าช้าเนื่องจากการไม่มีการจัดลำดับก่อน-หลัง ของประชาชนที่มารับบริการ ควรมีการจัดลำดับก่อน-หลัง เพื่อความเป็นระเบียบและความเสมอภาคในการรับบริการ และมีการจัดอบรมบุคลากรในหน่วยงานให้ความรู้ในด้านการให้บริการประชาชน และมีการติดตามประเมินผลในการทำงานหลังการอบรม

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕