หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสมพร โชติวโร (ทิกามล)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๘ ครั้ง
การศึกษาเปรียบเทียบบัณฑิตในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาขงจื๊อ
ชื่อผู้วิจัย : พระสมพร โชติวโร (ทิกามล) ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ศาสนาเปรียบเทียบ)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระศรีรัตโนบล (สุริโย อุตฺตมเมธี)
  ณัทธีร์ ศรีดี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้   มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ แนวคิด  ทฤษฎีเกี่ยวกับบัณฑิต กระบวนการพัฒนาความเป็นบัณฑิต  บทบาทและคุณธรรมของบัณฑิตในพระพุทธศาสนาเถรวาทและศาสนาขงจื๊อ โดยชี้วิธีศึกษาเชิงเอกสาร

ผลการศึกษาพบว่า  บัณฑิตในพระพุทธศาสนาเถรวาท  หมายถึง  บุคคลผู้ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา มุ่งประโยชน์ในปัจจุบันนี้และประโยชน์ในภายหน้า  บัณฑิตมีลักษณะคือ ชอบคิดดีเป็นปกติ  ชอบพูดดีเป็นปกติ  และชอบทำดีเป็นปกติ  เป็นบุคคลที่รู้ดีรู้ชั่ว  สามารถแยกแยะถึงสิ่งที่เป็นคุณและสิ่งที่เป็นโทษออกจากกันได้  แบ่งออกเป็น  ๒ ประเภท  คือ บัณฑิตที่อยู่ในระดับโลกิยะ  และบัณฑิตที่อยู่ในระดับโลกุตตระ ความเป็นบัณฑิตนั้นเกิดขึ้นได้เพราะการปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์ ๘และหลักสิกขา ๓  คือ  อธิสีลสิกขา  อธิจิตตสิกขา  อธิปัญญาสิกขา  และสัปปุริสธรรม  ๗  อันเป็นธรรมของคนดีหรือสัตบุรุษในการพัฒนาตนเอง บัณฑิตใช้ปัญญาในการครองตน ครองคน และครองงาน 

ส่วนขงจื๊อ  พบว่า บัณฑิตมาจากคำว่า จวินจื่อ หมายถึง ผู้มีการศึกษาเล่าเรียนมามาก เป็นบัณฑิตมีความรู้สูง มีความเชียวชาญในการงานด้านต่าง ๆ คิดเป็น พูดเป็น วางแผนได้ เข้าใจการงานและมองสถานการณ์ได้ทะลุปรุโปร่ง วิเคราะห์สถานการณ์ออกบอกเหตุการณ์ได้ มีความคิดรอบคอบรอบด้านและประกอบด้วยคุณธรรม การที่บุคคลมีบัณฑิตเป็นมิตรดีกว่ามีคนประเภทอื่น ๆ ทั้งหมด บัณฑิต มีลักษณะมุ่งหวังหาความรู้ไม่ได้มุ่งหวังประโยชน์ตนเป็นที่ตั้ง  คนที่เป็นบัณฑิต จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องภาพลักษณ์ที่ดี เช่น มีความเคารพ  มีความเที่ยงธรรม คำนึงถึงผลประโยชน์ของบ้านเมือง  ไม่เห็นแก่พวกพ้องของตน ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีคุณธรรมเข้ามาควบคุมความประพฤติของตน โดยจะต้องคำนึงถึงคุณธรรม ๕ ประการคือ เมตตา ธรรมจริยา ปัญญา และสัจจะ  ซึ่งทั้ง ๕ ประการนี้ ถือได้ว่า เป็นหัวใจคำสอนของขงจื๊อ

การศึกษาเปรียบเทียบบัณฑิตในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาขงจื๊อ ในประเด็นความเหมือน บัณฑิตผู้มีการศึกษาเล่าเรียนมามาก เป็นบัณฑิตมีความรู้สูง มีความเชียวชาญในการงานด้านต่าง ๆ ชอบคิดแต่เรื่องดี ชอบพูดแต่เรื่องดี ชอบทำแต่กรรมดี มีความคิดรอบคอบรอบรู้รอบด้านและประพฤติตนด้วยคุณธรรม บัณฑิตมีความอ่อนน้อมถ่อมตน รับใช้ราษฎรด้วยสติปัญญา มีความเอื้ออาทร ใช้ราษฎรโดยชอบด้วยเหตุผล

ในส่วนที่ต่างกัน ในพระพุทธศาสนามุ่งถึงระดับโลกุตระธรรม ส่วนขงจื๊อมุ่งถึงแค่ระดับโลกิยะธรรมเท่านั้นไม่ถึงระดับโลกุตระธรรมเหมือนพุทธศาสนาเถรวาท

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕