หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางวรรณา พ่วงพร้อม
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๖ ครั้ง
การศึกษาเปรียบเทียบเรื่อง ความเห็นแก่ตัวในปรัชญาสังคม ของโทมัส ฮอบส์ กับพุทธปรัชญาเถรวาท (๒๕๕๓)
ชื่อผู้วิจัย : นางวรรณา พ่วงพร้อม ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๑๑/๒๐๑๑
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหากฤษณะ ตรุโณ,ผศ
  ผศ.ดร.ประเวศ อินทองปาน
  ดร.แสวง นิลนามะ
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย ๑)  เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องความเห็นแก่ตัวในปรัชญาสังคมของโทมัส ฮอบส์ ๒)  เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องความเห็นแก่ตัวในพุทธปรัชญาเถรวาท   และ ๓) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องความเห็นแก่ตัวในปรัชญาสังคมของโทมัส ฮอบส์กับพุทธปรัชญาเถรวาท ผลการศึกษาวิจัยแนวคิดทั้งสองดังกล่าวพบว่า

                       ทฤฎีการเมืองของ ฮอบส์ เป็นทฤษฎีการเมืองที่ยิ่งใหญ่โดยนำเอาหลักการทางวิทยาศาสตร์มาสัมพันธ์กับสภาพอันแท้จริงของสังคม ฮอบส์ เป็นบิดาแห่งเสรีนิยมโดยการใช้เหตุผลทางปรัชญาเป็นการค้นหาสาเหตุและผลลัพย์ของสังคม ฮอบส์มองว่ามนุษย์มีความเห็นแก่ตัวที่ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดปลอดภัยเป็นธรรมชาติที่มนุษย์ต้องได้รับการคุ้มครองจึงต้องสถาปนาองค์อธิปัตย์ขึ้นมาเป็นตัวแทนทุกคนโดยมีอำนาจบังคับให้ทุกคนปฎิบัติตามสัญญาเรียกว่า“สัญญาประชาคม” ในธรรมชาติของมนุษย์ที่มีแต่ความขัดแย้งและการต่อสู้ตลอดเวลาเพื่อประโยชน์ตน  มหาชนยอมทำสัญญาประชาคมเพื่อให้เกิดความมั่นคง องค์อธิปัตย์ถือกำเนิดมามีสิทธิเด็ดขาดและมีอำนาจสมบูรณ์  ในคำสั่งขององค์อธิปัตย์นั้นถือเป็นการบุกเบิกอำนาจทางกฎหมายเพื่อหลอมรวมคนในสังคมเข้าด้วยกันโดยมุ่งหวังที่จะได้รับความคุ้มครองและได้ประโยชน์สุขตอบแทน กฎจึงถูกใช้เพื่อให้เกิดความชอบธรรมในสังคม แต่ถ้าสมาชิกไม่ปฏิบัติตามกฎกติกาจะต้องได้รับโทษนั้น ความยุติธรรมหรือศีลธรรมจะเกิดจากการที่ทุกคนร่วมกันปฎิบัติตามกฎของสังคม

       ส่วนในสังคมพุทธปรัชญาเถรวาทมองว่า  ความเห็นแก่ตัวเป็นความทุกข์มนุษย์ต่างแสวงหาสิ่งที่เป็นความสุขและหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นทุกข์ มนุษย์ต่าง“รักสุขเกลียดทุกข์” เรียกว่า  “ความรักตน”  ความรักนี้เองที่ทำให้มนุษย์ใฝ่หาสิ่งต่างๆเพื่อสนองตอบความต้องการก่อให้เกิดการละเมิดเบียดเบียนซึ่งกันและกันก่อให้เกิดความทุกข์ทั้งสิ้นตัณหาเป็นลักษณะความอยากที่หามาสนองความต้องการทางประสาททั้ง ๕ ทำให้เกิดการใช้วาจาส่อเสียดประทุษร้ายทำร้ายกัน บุคคลถูกความโลภครอบงำเป็นขั้นที่ร้ายแรงการอยู่ร่วมกันในสังคมมักจะมีปัญหาเกิดขึ้นเสมอกระทบกระทั่งทำให้เกิดการละเมิด ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ  การปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกันนั้นโดยนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อแก้ปัญหาในสังคมมีการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน พึงประพฤติปฏิบัติตามหลักการ ในการอยู่ร่วมกัน ที่เรียกว่า สาราณียธรรม  มี ๖ ประการประกอบด้วย เมตตา นั่นคือ การอยู่ด้วยกันกระทำดีต่อกัน ไม่เบียดเบียนทำร้ายกันมุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือกัน เพื่อความผาสุขทางสังคม  

              เมื่อเปรียบเทียบทั้งสองแนวคิดแล้วพบว่ามีความแตกต่างกันในบริบทสังคม ปรัชญาสังคมของโทมัส ฮอบส์ เป็นการต่อสู้ทางการเมืองที่แข่งขันกันในเรื่องผลประโยชน์และการชิงอำนาจ การกระทำเช่นนั้นเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของสังคม ฮอบส์ได้ใช้กฎหมายในแก้ปัญหาสังคมโดยผ่านองค์อธิปัตย์ทุกคนต้องยึดมั่นในสัญญาที่ให้ไว้ประชาชนจึงจะเกิดความสงบสุขได้ในระดับหนึ่ง ส่วนในพุทธปรัชญาเถรวาทนั้นเน้นการพัฒนาเพื่อดำเนินไปสู่วิถีชีวิตที่เหมาะสมสร้างเสริมให้คนในสังคมมีจิตสำนึกมุ่งประโยชน์สุขและเกิดความสันติสุขในสังคม  อย่างไรก็ตามทั้งปรัชญาสังคม โทมัส ฮอบส์ และพุทธปรัชญาเถรวาทต่างมุ่งเพื่อประโยชน์และมุ่งพัฒนาสังคมเป็นหลักแต่มีความแตกต่างกันคือ ฮอบส์ มองว่าต้องพัฒนาความเห็นแก่ตัวหรือควบคุมความเห็นแก่ตัวให้กลายเป็นประโยชน์ให้ได้ ขณะที่พุทธปรัชญามุ่งขจัดความเห็นแก่ตัวจนถึงที่สุด

download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕