หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางสาวฐิติพร สะสม
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๖ ครั้ง
ศึกษาระบบการบริหารและการจัดการวัดในพระพุทธศาสนากรณีศึกษา : วัดพระธาตุแช่แห้ง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน (๒๕๕๓)
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวฐิติพร สะสม ข้อมูลวันที่ : ๒๘/๑๑/๒๐๑๑
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูพิพิธสุตาทร,ดร.
  พระมหาสง่า ธีรสํวโร
  รศ.พิเศษ ถาวร เสาร์ศรีจันทร์
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีเนื้อหาเพื่อทำการศึกษาระบบการบริหารและการจัดการวัดในพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษาวัดพระธาตุแช่แห้ง  อำเภอภูเพียง  จังหวัดน่าน  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการบริหารจัดการวัดและกิจการคณะสงฆ์   เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการวัดพระธาตุแช่แห้งและเพื่อศึกษาแนวทางการบริหารวัดพระธาตุแช่แห้ง  อ.ภูเพียง  จ.น่าน

ประเด็นหลักในการศึกษาครั้งนี้คือ  ศึกษากระบวนการบริหารงานบุคล  งานธุรการ  งานการเงินการบัญชี  งานศาสนสมบัติ  งานกิจกรรมของวัด  และงานอาคารสถานที่  โดยมุ่งเน้นถึงระบบการบริหารงานด้านต่าง    เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์  การเก็บข้อมูลผู้วิจัยจัดเก็บด้วยตนเองโดยการสัมภาษณ์จากแหล่งข้อมูลซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งภายในและภายนอกวัดพระธาตุแช่แห้ง  พร้อมทั้งสังเกตอิริยาบถและสภาพแวดล้อมต่าง    ระหว่างการสัมภาษณ์  การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการศึกษาพบว่า

 วัดพระธาตุแช่แห้งได้มีการจัดระบบการบริหารและการจัดการวัด  โดยได้เน้น การบริหารงานบุคล  การบริหารงานธุรการ  การบริหารงานการเงิน/บัญชี  การบริหารศาสนสมบัติ  การบริหารกิจกรรมของวัด  ซึ่งการบริหารงานดังที่กล่าวมานี้มีระบบการบริหารงานที่ชัดเจน  โปร่งใส  มีการจัดรูปแบบของคณะกรรมการการบริหารในส่วนงานต่าง    การจัดระบบการบริหารงานของวัดพระธาตุแช่แห้งจะเน้นในเรื่องของความสะดวกรวดเร็ว  และมีประสิทธิภาพโดยจะเห็นได้จากการแบ่งงานออกเป็นแต่ละฝ่าย  มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ  โดยตรงจึงทำให้ง่ายต่อการติดต่อประสานงานและจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่แต่ละฝ่ายงานมีความตั้งใจและปฏิบัติตามระบบต่าง    ที่ทางวัดได้กำหนดได้อย่างดียิ่ง

ในส่วนของปัจจัยที่มีผลสัมฤทธิ์และผลกระทบต่อการบริหารและการจัดการวัดพระธาตุแช่แห้งนั้นจากการศึกษาทราบว่าเพราะปัจจัย    ประการ  คือปัจจัยภายใน ได้แก่  ความมีภาวะผู้นำของเจ้าอาวาส  บุคลากร  งบประมาณ   และปัจจัยภายนอก  ได้แก่  คณะสงฆ์  ภาครัฐ  และองค์กรเอกชน ซึ่งปัจจัยทั้งสองส่วนต่างเอื้อผลประสานประโยชน์ส่งเสริมซึ่งกันจนทำให้วัดพระธาตุแช่แห้งประสบความสำเร็จในการบริหารอันจะได้เป็นต้นแบบที่ดีงามในการพัฒนาวัดในพระพุทธศาสนา วัดหนึ่งสืบไป

download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕