หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหานพพร อาภาธโร (ชนะผล)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๐ ครั้ง
การศึกษาระดับความคิดเห็นต่อแรงจูงใจของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จังหวัดจันทบุรี
ชื่อผู้วิจัย : พระมหานพพร อาภาธโร (ชนะผล) ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ บุญปู่ ป.ธ.๔,พธ.บ.,M.A.,Ph.D.
  ผศ.ดร. สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย ปธ.๓, พธ.บ., M.Ed., Ph.D.
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิน งามประโคน พธ.บ.,M.A.,Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                         การศึกษาระดับความคิดเห็นต่อแรงจูงใจของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จังหวัดจันทบุรีนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นและเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อแรงจูงใจของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จังหวัดจันทบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จำนวน ๙๒ คน ใช้เครื่องมือแบบสอบถาม และวิเคราะห์ด้วยสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ Independent Samples  t-test, F-test (One-way ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี Fisher’s Least-Significant Difference (LSD)

 

                        ผลการศึกษาพบว่า

                      ๑.  โดยภาพรวมทำให้ทราบว่าพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จังหวัดจันทบุรี ส่วนใหญ่มีอายุ มากกว่า ๔๐ ปีขึ้นไป จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๖ และนักธรรมชั้นเอกส่วนใหญ่ไม่มีเปรียญธรรม มีอายุพรรษา ๖ ๑๐ และไม่มีตำแหน่งทางคณะสงฆ์ ส่วนใหญ่สอนระดับประถมศึกษาตอนปลาย

 

 

 

๒. ระดับความคิดเห็นต่อแรงจูงใจของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน โดยภาพรวมพบว่า

ระดับความคิดเห็นต่อแรงจูงใจภายใน ด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง มากที่สุดเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ด้านความมีอิสระในงาน ด้านการพัฒนาความสามารถของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน และด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว น้อยที่สุดตามลำดับ

ระดับความคิดเห็นต่อแรงจูงใจภายนอก ด้านการยอมรับจากสังคม มากที่สุดเป็นอันดับแรก รองลงมา ด้านการจัดกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรม ด้านเผยแผ่คุณธรรม จริยธรรม ด้านการบำเพ็ญประโยชน์ และด้านการมีส่วนร่วมในโรงเรียน น้อยที่สุดตามลำดับ

ระดับความคิดเห็นต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ด้านความมุ่งสำเร็จมากที่สุดเป็นอันดับแรก รองลงมา ด้านความกล้าเผชิญปัญหา และด้านความกระตือรือร้น น้อยที่สุดตามลำดับ

                         ๓. ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อแรงจูงใจภายใน แรงจูงใจภายนอก และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ ได้แก่ตำแหน่งทางคณะสงฆ์ โดยที่เจ้าคณะตำบลมีแรงจูงใจทั้ง ๓ ด้านสูงกว่าทุกกลุ่ม ส่วนปัจจัยทางด้านอื่น พระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมีแรงจูงใจไม่แตกต่างกัน

                  ดาวน์โหลด      

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕