หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระไพรวัลย์ ธมฺมวโร (วงศ์ภักดี)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๒ ครั้ง
ศึกษาพฤติกรรมด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ในทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร
ชื่อผู้วิจัย : พระไพรวัลย์ ธมฺมวโร (วงศ์ภักดี) ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ บุญปู่ ป.ธ.๔,พธ.บ.,M.A.,Ph.D.
  ผศ.ดร. สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย ปธ.๓, พธ.บ., M.Ed., Ph.D.
  ผศ.บุญเลิศ จีรภัทร์ วท.บ., พบ.ม.
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                   การศึกษาเรื่อง พฤติกรรมด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ในทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตบางคอแหลม  กรุงเทพมหานคร ครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ในทัศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร และ  ๒) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมด้านมนุษย์สัมพันธ์ของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ในทัศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตบางคอแหลม  กรุงเทพมหานคร จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ  ครูในสังกัดสำนักงานเขตบางคอแหลม  กรุงเทพมหานคร ๗ โรงเรียน  จำนวน ๑๙๑  คน โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างของ R.V.Krejecie และ D.W. Morgan สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าความถี่และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติทดสอบค่าที (t-test)  และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance: F-test) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์สถิติสำเร็จรูป ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

                   ๑.  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตบางคอแหลม  กรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับพฤติกรรมด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ โดยภาพรวม พบว่า มีพฤติกรรมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีพฤติกรรมอยู่ในระดับมาก ๖ ด้าน เรียงลำดับได้ดังนี้ ๑) ด้านปุคคลปโรปรัญญุตา รู้จักบุคคล ๒) ด้านปริสัญญุตา รู้จักชุมชน  ๓)  ด้านมัญตัญญุตา รู้จักตน  ๔) ด้านมัญตัญญุตา รู้จักประมาณ   ๕)  ด้านอัตถัญญุตา รู้จักผล และ ๖) ด้านกาลัญญุตา รู้จักกาล ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านธัมมัญญุตา รู้จักเหตุ

                   ๒. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตบางคอแหลม  กรุงเทพมหานครเกี่ยวกับพฤติกรรมด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรม ๗  จำแนกตามเพศ โดยการทดสอบค่าที (t-test) โดยภาพรวม พบว่า  ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านก็พบว่า ไม่แตกต่างกัน

                   ส่วนด้านอายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way Analysis of Variance: ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ครูสังกัดสำนักงานเขตบางคอแหลม  กรุงเทพมหานครที่มีอายุ ระดับการศึกษา  และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ไม่แตกต่างกัน

 

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕