หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระวีระพงษ์ อธิจิตฺโต (บุญคง)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๓ ครั้ง
การศึกษาเปรียบเทียบสภาพการณ์และแนวทางแก้ไขภัยพิบัติ ในพระพุทธศาสนากับสังคมปัจจุบัน
ชื่อผู้วิจัย : พระวีระพงษ์ อธิจิตฺโต (บุญคง) ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระหัสดี กิตฺตินนฺโท พธ.บ., M.A., Ph.D.
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรพงษ์ คงสัตย์ พธ.บ., M.A., ปร.ด.
  .
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบสภาพการณ์และแนวทางแก้ไขภัยพิบัติในพระพุทธศาสนากับสังคมปัจจุบัน มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ๓ ประการ คือ () เพื่อศึกษาสภาพการณ์และแนวทางแก้ไขภัยพิบัติในพระพุทธศาสนา () เพื่อศึกษาสภาพการณ์และแนวทางแก้ไขภัยพิบัติในสังคมปัจจุบัน () เพื่อศึกษาเปรียบเทียบของสภาพการณ์และแนวทางแก้ไข ภัยพิบัติในพระพุทธศาสนากับสังคมปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า

. สภาพการณ์ของภัยพิบัติในพระพุทธศาสนา หมายถึง อันตรายที่สร้างความเสียหาย เป็นสภาพที่แย้งต่อความสุข ถูกบีบคั้น ทำให้เป็นทุกข์ ก่อความเสียหายแก่ชีวิต ทรัพย์สิน เป็นจำนวนมาก มีลักษณะที่ไม่แน่นอน ควบคุมได้ยาก ซึ่งเป็นอุตุนิยาม คือ กฎของธรรมชาติที่เกี่ยวกับการปรุงแต่งของโลกทางวัตถุธรรม ตามหลักทางพระพุทธศาสนา ภัยพิบัติ มี ๔ ประการ คือ อัคคีภัย อุทกภัย วาตภัย และ ทุพภิกขภัยหรือฉาตกภัย สาเหตุจาก ธรรมชาติ และมนุษย์ เมื่อภัยพิบัติเกิดขึ้นทุกชีวิตที่ดำรงอยู่บนโลกนี้ ย่อมจะได้รับผลกระทบอย่างใหญ่หลวง แนวทางการแก้ไขตามหลักพระพุทธศาสนา มนุษย์จะมีชีวิตอยู่รอดได้จะต้องปฏิบัติต่อธรรมชาติอย่างเข้าใจและรู้คุณค่าองค์ประกอบต่าง ๆ ในธรรมชาติที่ช่วยค้ำจุนโดยมีทัศนะและท่าทีที่ถูกต้อง ไม่สร้างความเสียหายให้ธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น การเป็นอยู่ต้องอาศัยกันทั้งสองฝ่าย จากนั้นความสมบูรณ์ของธรรมชาติ จะกลับคืนมาสู่มนุษย์ และทำให้ชีวิตมนุษย์ดำรงอยู่อย่างเป็นสุขตลอดไป

. สภาพการณ์ของภัยพิบัติในสังคมปัจจุบัน หมายถึง เหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายต่อมนุษย์ มากเกินกว่าที่ความสามารถของชุมชนในการรับมือต่อเหตุการณ์ มีลักษณะจำกัดอยู่เฉพาะบริเวณ และสร้างความเสียในวงกว้าง ตลอดทั้งภัยในรูปแบบใหม่ ภัยพิบัติในสังคมปัจจุบัน มี ๔ ประเภท คือ วาตภัย อุทกภัย อัคคีภัย และทุพภิกขภัย สาเหตุเกิดจากธรรมชาติและมีผู้ทำให้เกิดขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตของประชาชนและทรัพย์สินของรัฐ ล้วนส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างรุนแรง ทำให้เกิดความสูญเสียชีวิต ทรัพย์สิน เป็นจำนวนมาก แนวทางแก้ไขภัยพิบัติในสังคมปัจจุบัน ได้นำเอาหลักวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อลดความเสียหาย โดยทำการพยากรณ์และเตือนภัย เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติ

๓. การเปรียบเทียบสภาพการณ์และแนวทางแก้ไขภัยพิบัติในพระพุทธศาสนากับสังคมปัจจุบันนั้น พบว่า ด้านความหมายของภัยพิบัติ ในจุดเหมือน คือ เหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อมนุษย์ ในส่วนความแตกต่างนั้นอยู่ที่การตีความ คือความเสียหายภายใน และความเสียหายภายนอก ด้านลักษณะในจุดเหมือน เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ไม่สามารถควบคุมได้ จุดแตกต่างของลักษณะนั้น คือ แตกต่างกันไปตามลักษณะของทั้ง ๔ ประเภท ด้านประเภทในจุดเหมือน ได้มีความสอดคล้องในส่วนที่เป็นประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ วาตภัย อุทกภัย อัคคีภัย และทุพภิกขภัย จุดต่างของประเภท คือ ส่วนย่อยของประเภท ด้านสาเหตุในจุดเหมือน คือสาเหตุจากธรรมชาติ จุดต่าง คือ สาเหตุจากมนุษย์ ซึ่งไปตามกาลสมัย ด้านผลกระทบในจุดเหมือนคือ ด้านสุขภาพอนามัย ทั้งร่างกาย และจิตใจ ในจุดต่าง คือ ด้านชีวิตและทรัพย์สิน ด้านอาหาร ด้านระบบนิเวศน์ ด้านเศรษฐกิจ ด้านแนวทางแก้ไขในจุดเหมือน คือ มีการรณรงค์ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติ ในจุดต่าง คือ พระพุทธศาสนาไม่มีการนำหลักวิทยาศาสตร์ มาใช้อย่างสังคมปัจจุบัน

 

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕