Mahachulalongkornrajavidyalaya University
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
คุณคือผู้เข้าชมลำดับที่ ๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๔๗๖๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๓๑๓๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐ |
|
|
|
|
Untitled Document
|
|
|
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
จากนาลันทาถึงมหาจุฬาฯ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
๒๕๔๒ หน้า ๑๔-๑๘
|
-
: ศึกษาบันทึกของสมณะจีน
(๑) สมณะฟาเหียน
สมณะฟาเหียนจาริกมาสืบพระศาสนาในอินเดีย
(พ.ศ. ๙๔๒-๙๕๗ โดยประมาณ) ในรัชสมัยของพระเจ้าจันทรคุปต์ ที่ ๒ โดยเดินทางเข้าทางอินเดียตอนเหนือ
มีจุดประสงค์เพื่อค้นหาคัมภีร์พระวินัยปิฎก ดั้งเดิม ในบันทึกระบุชื่อสถานที่หลายแห่งพร้อมกับสภาพแวดล้อม
เช่น** ที่โรหิในอัฟกานิสถาน มีพระภิกษุ ๓,๐๐๐ รูปทั้งฝ่ายหีนยานและมหายาน
ที่อุทยานะ มีพระภิกษุ ๕๐๐ รูป ที่ภิทะ(Bhida หรือ ปิตะ (Pi-ta) พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง
พระสงฆ์ศึกษาทั้งหีนยานและมหายาน ที่มถุรา มีวัด ๒๐ แห่ง มีพระสงฆ์ ๓,๐๐๐
รูป นอกจากนี้ยังกล่าวถึงสาวัตถี สังกัสสะ ปาฏลีบุตร แต่ไม่ได้กล่าวถึงนาลันทา
กล่าวถึงเพียงหมู่บ้านนาโล (Nalo) ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดและมรณภาพของพระสารีบุตร
ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นที่เดียวกันกับ นาลันทา๑๕ ท่านฟาเหียนบันทึกเกี่ยวกับวัด
๒ แห่งในปาฏลีบุตร(ซึ่งอยู่ไม่ห่างนาลันทานัก)ว่า๑๖
วัดทั้ง ๒ นั้นใหญ่โตมาก
วัดหนึ่งเป็นวัดของภิกษุฝ่ายมหายาน อีกวัดหนึ่งเป็นของภิกษุฝ่ายหีนยาน
แต่ละวัดมีภิกษุประมาณ ๖๐๐-๗๐๐ รูป การศึกษาในวัดทั้ง ๒ นั้นเจริญมาก
อาจารย์ล้วนแต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ และมีนักศึกษาจากส่วนต่างๆ ของ อินเดียมาศึกษาที่นั่น
สมณะฟาเหียนพักจำพรรษาอยู่ในอินเดีย
๑๔ ปี สถานที่สุดท้ายที่ท่านพักอยู่ในอินเดียคือนครจัมปา ซึ่งท่านพักอยู่
๒ ปีและบันทึกไว้ว่า มีวัด ๒๐ แห่ง มีภิกษุทุกวัด ต่อจากนั้น ท่านได้ลงเรือเดินทางต่อไปยังศรีลังกา(ซีลอน)
พักอยู่ ๒ ปีแล้วเดินทางผ่านหมู่เกาะชวา กลับถึงเมืองจีนโดยใช้เวลา ๕
เดือน***
|
|
(๒) สมณะเฮี่ยนจั๋ง
สมณะเฮี่ยนจั๋ง(พระถังซำจั๋ง)
เกิดเมื่อ พ.ศ.๑๑๔๕ เป็นชาวเมืองโลยางจาริกมาสืบพระศาสนาในอินเดียเมื่ออายุ
๒๗ ปี เดินทางถึงนาลันทาต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. ๑๑๘๐**** ในยุคที่นาลันทาเจริญรุ่งเรืองเต็มที่แล้ว(พ.ศ.๑๑๗๒-๑๑๘๘)
นาลันทามหาวิหารกลายเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบในสมัยราชวงศ์คุปตะ (พ.ศ.๘๖๓-๑๒๑๓
โดยประมาณ) เพราะจากการขุดค้น ไม่ปรากฏหลักฐานใดที่บ่งว่าเกิดมีสิ่งก่อสร้างเกิดมากมายก่อนสมัยคุปตะ
พบแผ่นทองแดงของสมุทรคุปตะ และเหรียญของ กุมารคุปตะ ซึ่งสอดคล้องกับบันทึกของ
สมณะเฮี่ยนจั๋งที่ว่า๑๗
กษัตริย์องค์ก่อนของประเทศนี้
พระนามว่า ศักราทิตย์ ได้ใช้วิชาหมอดูคัดเลือกจุดนำโชค(lucky spot) แล้วสร้างวัดบริเวณนี้
ซึ่งผู้สืบราชวงศ์ ต่อมา คือ พุทธคุปต์ ตถาคตคุปต์ พาลาทิตย์ และวัชระ
ต่างพากันสร้างวัด(วิหาร)ไว้บริเวณใกล้เคียง
สมณะเกาหลีชื่อ
ปรัชญาวรมัน (Prajnavarman)ซึ่งเดินทางมาที่นาลันทาหลังสมณะเฮี่ยนจั๋งประมาณ
๔๐ ปีก็บันทึก ไว้ในทำนองเดียวกัน จึงสรุปได้ว่า ผู้สร้างนาลันทาให้เป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ
พร้อมทั้งจัดระบบสาธารณูปโภค ระบบบริหาร คือ ศักราทิตย์ แห่งราชวงศ์คุปตะ
และมีข้อสันนิษฐานว่าเป็นพระองค์เดียวกันกับกุมารคุปตะที่ ๑ (พ.ศ.๙๕๘-๙๙๘
โดยประมาณ) สมณะเฮี่ยนจั๋งเดินทางจากจีนมาสืบพระศาสนาในอินเดีย พำนักอยู่
ณ นาลันทาเป็นเวลา ๕ ปี ศึกษาปรัชญาโยคะจากท่านศีลภัทระซึ่งเป็นอธิการบดี
ในสมัยนั้น* และแปลพระคัมภีร์จำนวนมาก ได้บันทึกภาพเหตุการณ์ต่างๆ ไว้น่าเชื่อถือ
จึงมีข้อสันนิษฐานว่า วิหารแห่งนาลันทา เป็นงานสร้างสรรค์ของกษัตริย์ในราชวงศ์
คุปตะโดยมาก เริ่มตั้งแต่กุมารคุปตะเป็นต้นมา ฐานของวิหารต่างๆ ล้วนเป็นงานศิลปะสมัยคุปตะ(พ.ศ.
๘๖๓-๑๒๑๓ โดยประมาณ = ๓๕๐ ปี) แม้แต่กษัตริย์หรรษาวรรธนะแห่งกาโนช (พ.ศ.๑๑๔๙-๑๑๘๖
โดยประมาณ) ก็มีส่วนร่วมในการสร้างวิหารที่นาลันทา
งานสร้างสรรค์ของกษัตริย์แห่งราชวงศ์คุปตะ
ไม่มีสัญลักษณ์ทางพระพุทธ-ศาสนามากนัก เพราะพื้นฐานเดิมแห่งราชวงศ์คุปตะนับถือศาสนาพราหมณ์
แม้จะมีบางพระองค์หันมานับถือพระพุทธศาสนามหายาน เช่น พาลาทิตย์เป็นศิษย์ของวสุพันธุ
หรือวัชระ ทั้ง ๒ องค์ ก็ยังไม่ สร้างสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาไว้ที่ นาลันทา**
อีกตอนหนึ่ง สมณะเฮี่ยนจั๋งบันทึกไว้ว่า
มีหอพักสำหรับคน ๓,๐๐๐ คน ส่วนมากเป็นพระภิกษุ เป็นศูนย์รวมของนักปราชญ์และศิษย์เก่า
และมีบันทึกอีกตอนหนึ่งซึ่งระบุเพียงว่าเป็นของสมณะจีนว่า***
นับแต่สมัยคุปตะมา
นาลันทามหาวิหารล้อมด้วยกำแพงสูง มี วิหารแบบอินเดียโบราณอยู่ ๑๐ แถว โครงสร้างอิฐรูปไข่(รูปวงรี)
มีห้อง (กุฏิ)เปิดเชื่อมต่อกันทั้ง ๔ ด้านของสนามหญ้า มีประตูเข้าใหญ่อยู่ด้านหนึ่ง
และมีสถูป(shrine)หันหน้าไปทางประตูเข้า ตรงข้ามสนามหญ้า ด้านหน้าของวิหาร(นาลันทา)
มีสถูปใหญ่ ๒ องค์ตั้งอยู่ ก่อด้วยอิฐและปูนปลาสเตอร์ อาณาบริเวณทั้งหมด
มีตราสัญลักษณ์บ่งบอกว่า นาลันทา มหาวิหาร
ท่านเฮี่ยนจั๋งได้กล่าวถึงบรรยากาศทางวิชาการว่า๑๗
นาลันทาเป็นศูนย์รวมของพี่น้องผองเพื่อน
(brethren) ทุกคนที่อยู่ในนาลันทาล้วนเป็นพหูสูต ความสามารถสูงส่ง เป็นอภิปูชนียบุคคลและมีชื่อเสียง...
ทำให้นิสิตชาวต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาศึกษาเพื่อรู้ให้เจนจบ(to put an end
to their doubts) และสร้างชื่อเสียงให้ตัวเอง คนเหล่านี้ เมื่ออ้างชื่อนาลันทาแล้ว
(steal the name of Nalanda) ไม่ว่าจะไปที่ไหน ล้วนได้รับการนับถืออย่างสูงส่ง...
คุณภาพเชิงวิชาการ ณ ที่แห่งนี้สูงส่ง จริง ในจำนวน(นิสิต)พระสงฆ์ ๑๐,๐๐๐
รูป จำนวน ๑,๐๐๐ รูปที่เชี่ยวชาญอธิบายได้ ๓๐ สูตร จำนวนประมาณ ๕๐ รูปเชี่ยวชาญอธิบายได้
๕๐ สูตร
สมณะเฮี่ยนจั๋งพำนักอยู่ในอินเดียเป็นเวลา
๑๕ ปี ได้ศึกษา แปลและปริวรรต คัมภีร์พระพุทธศาสนาจำนวนมาก นำกลับไปเมืองจีนโดยบรรทุกบนหลังม้า
๒๐ ตัว และใช้เวลาอีก ๑๙ ปีที่เมืองจีนในการแปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาเป็นภาษาจีน๑๘
(๓) สมณะอี้จิง
สมณะอี้จิงเดินทางมาสืบพระศาสนาในอินเดีย
(พ.ศ. ๑๒๑๔-๑๒๓๑ โดยประมาณ, หลักฐานบางแห่งบอกว่า พ.ศ.๑๒๑๔-๑๒๓๘=๒๔ ปี)
พักอยู่ในอินเดีย ๑๗ ปี ได้บันทึกภาพเหตุการณ์ที่นาลันทาว่า มีพระสงฆ์อยู่เป็นจำนวนมาก
ไม่น้อยกว่า ๓,๐๐๐ รูป วิถีชีวิตประจำวัน แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ (๑) ศึกษา
(๒) ประกอบพิธีทางศาสนา การประกอบพิธีทางศาสนานั้น เนื่องจากมีพระสงฆ์จำนวนมาก
การที่จะมารวมกันประกอบพิธีในที่เดียวกัน เป็นเรื่องลำบาก จึงต้องแยกกันประกอบพิธีตามห้องโถงซึ่งมีอยู่
๘ ห้อง และมีห้องเล็กอีก ๓๐๐ ห้อง ใช้นาฬิกาน้ำ(clepsydrae) เป็นตัวบอกเวลา
ซึ่งนิยมใช้กันในวัดขนาดใหญ่ในอินเดีย นาฬิกาน้ำเหล่านี้เป็นของพระราชทานจากพระราชา
ลักษณะ ของนาฬิกาน้ำคือ เอาภาชนะทองแดงขนาดเล็กลอยไว้ในภาชนะใหญ่ที่บรรจุน้ำเต็ม
เมื่อภาชนะเล็กจมน้ำครั้งหนึ่งก็กำหนดเป็นเวลาช่วงหนึ่ง สมณะอี้จิงคงสนใจนาฬิกาน้ำเป็นพิเศษ
จึงบรรยายอย่างพิสดารว่า๑๙
เริ่มตั้งแต่เช้า
ภาชนะเล็กจมน้ำครั้งที่หนึ่ง ตีกลองหนึ่งครั้ง จมน้ำครั้งที่สอง ตีกลองสองครั้ง
จมน้ำครั้งที่สาม นอกจากจะตีกลองสี่ครั้งครั้งแล้ว ต้องเป่าหอยสังข์สองครั้ง
และตีกลองเพิ่มอีกหนึ่งครั้ง นี้เรียกว่า ชั่วโมงที่หนึ่ง นั่นคือ ช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์อยู่ในระหว่างจุดตรงศีรษะกับขอบฟ้า
เมื่อภาชนะจมน้ำครั้งที่สี่ ตีกลองสี่ครั้ง เป่าหอยสังข์ และตีกลองเพิ่มอีกสองครั้ง
นี้เรียกว่า ชั่วโมงที่สอง ซึ่งเป็นช่วงเวลาเที่ยงวัน...
นาลันทาเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงยุคราชวงศ์ปาละ(พ.ศ.๑๓๐๐-๑๗๐๐
โดยประมาณ) เป็นศูนย์ประติมากรรมทางศาสนาซึ่งทำด้วยหินและทองแดง๒๐ แต่ขณะที่ท่านอี้จิงเดินทางไปถึงนี้
นาลันทาเริ่มเข้าสู่ภาวะเสื่อมถอยบ้างแล้ว ท่านอี้จิง บันทึกไว้ว่า จำนวนนิสิตลดลงเหลือประมาณ
๓,๐๐๐ คน
ตามที่ท่านเฮี่ยนจั๋งบันทึกไว้ว่ากษัตริย์
แห่งราชวงศ์คุปตะนับถือศาสนาพราหมณ์ จึงมีประเด็นปัญหาอยู่ข้อหนึ่งว่า
เพราะ เหตุไร กษัตริย์ในราชวงศ์คุปตะจึงสร้างพุทธวิหารไว้ในนาลันทา
?
สมณะอี้จิงบันทึกไว้พอเป็นคำตอบได้ว่า
ดินแดนแห่งนี้อยู่ในความครอบครองของนาลันทา ซึ่งครอบคลุมพื้นที่มากกว่า
๒๐๐ หมู่บ้าน และพื้นที่ของหมู่บ้านเหล่านี้ ได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์มาหลายชั่วอายุคนแล้ว
จากบันทึกนี้ สรุปเป็น คำตอบได้ ๒ ประเด็น คือ๒๑
๓.๑ สาเหตุที่กษัตริย์ในราชวงศ์
คุปตะสนับสนุนนาลันทา เพราะต้องการสนับสนุนการศึกษา เนื่องจากในยุคนั้น
วัดในพระพุทธศาสนา(พุทธวิหาร-Buddhist Monasteries) เป็นศูนย์การศึกษา
การสร้างวัดและการจัดสรรงบประมาณอุปถัมภ์บำรุง ถือว่าเป็นการสนับสนุนการศึกษาและวัฒนธรรมมากกว่าที่จะเป็นการสนับสนุนพระพุทธศาสนา
๓.๒ นาลันทาเป็นศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาเชิงวิชาการหรือเชิงปรัชญาและเชิงประยุกต์
ทำหน้าที่เป็นมหาวิทยาลัยเฉพาะทางมาเป็นเวลาหลาย ศตวรรษ มีอิทธิเชิงวิชาการครอบคลุมประชาชนทุกระดับ
ราชวงศ์คุปตะประสงค์มวลชนจึงต้องให้การสนับสนุนนาลันทา
สมณะอี้จิงเดินทางมาอินเดียทางทะเล
ขึ้นฝั่งที่ท่าตามรลิปติ (Tamralipti, Modern Tamluk) ศึกษาอยู่ที่นาลันทา
๑๐ ปี (๑๒๑๘-๑๒๒๘) รวบรวมคัมภีร์สันสกฤตได้ ๔๐๐ เล่ม ประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ โศลก(คาถา)
แปลคาถาซึ่งประพันธ์โดยมาตริเกตะ ๑๕๐ คาถา เพื่อสรรเสริญพระพุทธเจ้า และเดินทางกลับเมืองจีนทางทะเลเช่นกัน*
(๔) ฮุยลี
ท่านฮุยลี (Hwui-li)
นักเขียนชาวจีน ซึ่งเป็นเพื่อนรุ่นน้องของเฮี่ยนจั๋ง(บางแห่งว่าเป็นศิษย์ผู้ใกล้ชิด)
เขียนหนังสือชีวประวัติของเฮี่ยนจั๋งและพระจริยาวัตรของหรรษาวรรธนะ** บันทึกไว้ว่า๒๒
ภิกษุเจ้าถิ่นหรือภิกษุต่างถิ่นซึ่งศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยนาลันทา
มีจำนวนโดยเฉลี่ยประมาณ ๑๐,๐๐๐ รูป ทั้งหมดศึกษาคัมภีร์มหายานและคัมภีร์พระพุทธศาสนาทั้ง
๑๘ นิกาย นอกจากนี้ยังศึกษาพระเวท และคัมภีร์อื่นๆ เช่น เหตุวิทยา, ศัพทวิทยา,
จิกิตสวิทยา, อาถรเวท, สางขยา, และปกิณณกะ...
อีกตอนหนึ่ง ท่านฮุยลีบันทึกไว้ว่า๒๓
ที่นาลันทา มีนิสิต ๑,๐๐๐ คนที่อธิบายได้ ๒๐ สูตรและศาสตร์ จำนวน ๕๐๐ คนอธิบายได้
๓๐ สูตรและศาสตร์ จำนวนประมาณ ๑๐ คนรวมทั้งท่านเฮี่ยนจั๋ง ด้วยอธิบายได้
๕๐ สูตรและศาสตร์ ท่านศีลภัทระคนเดียวเท่านั้นที่ศึกษาและอธิบายได้ทั้งหมด
|
|
|
|